สารฟอกขาวคืออะไร ?
ถั่วงอกที่ขาวอวบ ผ้าขี้ริ้วที่ดูขาวกรอบน่ารับประทานมักจะถูกฟอกขาวด้วยสารฟอกขาว นอกจาก จะมีการใช้สารฟอกขาวในถั่วงอกแล้วยังมีการใช้ในอาหารประเภท ทุเรียนกวน หน่อไม้ ขิงซอย ขนมจีน น้ำตาลทรายหรือสินค้าอาหารอื่นๆที่มีสีขาวให้ดูน่ารับประทานและดูใหม่อยู่ เสมอ สารฟอกขาวหรือสารฟอกสีที่ใช้ในอาหารนั้นมีหลายชนิด ที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารก็คือสารเคมีในกลุ่มซัลไฟต์ ได้แก่
สารประกอบซัลไฟต์ เช่น แคลเซียมซัลไฟต์ โซเดียมซัลไฟต์ โพแทสเซียมซัลไฟต์
สารประกอบไบซัลไฟต์ เช่น โพแทสเซียมไบซัลไฟต์ ซึ่งใช้ป้องกันการบูดเสียของอาหารได้ด้วย
สารประกอบเมตาไบซัลไฟต์ เช่น โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์
สารฟอกสีเหล่านี้ เป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดตามชนิดของอาหาร ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ เช่น โซเดียมซัลไฟต์ถ้าใช้ในปริมาณที่เกินกำหนด จะมีสารกำมะถันตกค้างในอาหารในปริมาณสูงและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคถึงแก่ ชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบ หืด อ่อนเพลีย และผู้ที่ออกกำลังมาก
ส่วนสารฟอกขาวที่เป็นอันตราย กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้เจือปนในอาหาร คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium hydrosulfite) มีสูตรโมเลกุล : Na2O4S2 สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่เป็น พิษ ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว มีกลิ่นฉุนกำมะถันอ่อนๆ ละลายได้ในน้ำ ไม่ละลายในแอลกอฮอล์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการฟอกสี เช่น กระดาษ เส้นใยไหม แห อวน และเครื่องหนัง หากสัมผัสผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง ถ้าบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหารเช่น ปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร หากกินเข้าไปมากเกิน 30 กรัม จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ อาเจียน อุจจาระร่วง ความดันโลหิตลดต่ำลง แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หลอดลมหดตัว ทำให้หอบหืด ในผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้วอาจช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้
ความเป็นพิษ
ถ้าร่างกายได้รับสารฟอกขาวแล้ว กระบวนการในร่างกายจะเปลี่ยนสารไปอยู่ในรูปของซัลเฟต และขับออกได้ทางปัสสาวะ แต่ถ้าได้รับสารฟอกขาวกลุ่มโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือกลุ่มซัลไฟต์เกินกำหนด สารฟอกขาวจะไปทำลายไวตามินบี 1 ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง บางรายที่แพ้อาจเกิดลมพิษ ช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืด
ทั้งนี้ ระดับความรุนแรง ขึ้นอยู่กับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยเพียงใด นอกจากนั้น สารฟอกขาว ยังทำปฏิกิริยากับวิตามินบางชนิด เช่น ไทอามีน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดวิตามินนี้ได้ ถ้าได้รับสารฟอกขาวต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะสะสมทำให้รบกวนการทำงานของเอนไซม์ ทำให้มีผลเสียต่อระบบสมดุลของระบบเมตาบอลิซึมได้
การสังเกตการปนเปื้อน อาหารที่อาจมีสารปนเปื้อนสารฟอกขาว อาหารมีสีขาวเหมือนใหม่เสมอ ถั่วงอกขาวมากผิดปกติ ขิงหั่นฝอยสีสดไม่เป็นสีน้ำตาล
การนำสารนี้มาใช้อย่างกว้างขวางในผลิตอาหาร ต่าง ๆ เช่น
▸การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง
▸การผลิตน้ำตาล ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ และน้ำตาลปึก
▸การฟอกสีผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งสาลี วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เป็นต้น
▸พืชผักผลไม้ที่ปอกเปลือก และต้องการเก็บไว้นาน ๆ โดยไม่เกิดสีน้ำตาล เช่น การผลิตมันฝรั่งอบแห้ง กล้วยอบแห้ง บางครั้งมีการนำไปแช่ถั่วงอก หน่อไม้ หรือใส่ในการผลิตผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง และ แช่อิ่ม
▸การผลิตน้ำผลไม้
▸ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในการผลิตไวน์
ซึ่งโดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยน สารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทาง ปัสสาวะ
“อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้ เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล”
หากสงสัยว่า อาหารบางชนิด เช่น ถั่วงอก ผ้าขี้ริ้ว ตีนไก่ กระท้อนดอง ทุเรียนกวน ยอดมะพร้าวหรืออื่น ๆ มีสารฟอกขาว โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ปนอยู่หรือไม่ สามารถใช้ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(สารฟอกขาว)ในอาหาร ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อทดสอบ น้ำยาที่ใช้ทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ คือ สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4.5H2O) นั่นเอง ชุดทดสอบนี้สามารถตรวจสอบหาสารฟอกขาวที่เจือปนในอาหารทั้งที่เป็นของแข็งและ ของเหลว ซึ่งทำการทดสอบตามวิธีการง่าย ๆ ที่แนะนำไว้ในชุดทดสอบ
ประโยชน์ของชุดทดสอบ
ชุดทดสอบนี้สามารถตรวจสอบสารฟอกขาวชนิดโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ ได้อย่างรวดเร็ว
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุด : 100 ตัวอย่าง / กล่อง
อายุการใช้งานนับจากวันที่ผลิต : 2 ปี
ความไวของชุดทดสอบ : ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ ร้อยละ 0.05
อุปกรณ์ในการทดสอบ
– ถ้วยพลาสติก 1 ใบ
– น้ำยาทดสอบในขวดหยด 1 ขวด
ขั้นตอนการทดสอบ
1. ถ้าอาหารเป็นของเหลวให้เทตัวอย่างของเหลวนั้นลงในถ้วยพลาสติก จำนวน 5 มิลิลิตร ถ้าอาหารเป็นของแข็งตักอาหารครึ่งช้อนชาใส่ในถ้วยเติมน้ำสะอาดประมาณ 10 มิลลิลิตร แล้วบดตัวอย่างให้แตก
2. หยดน้ำยาทดสอบ จำนวน 1-3 หยด ลงในถ้วยเขย่าให้เข้ากันสังเกตุสีของส่วนที่เป็นน้ำในถ้วย
การประเมินผล
1.ถ้าของเหลวมี สีเทา หรือ สีดำ แสดงว่า อาหารมีสารโซเดียมไฮโดซัลไฟต์ (ไม่ควรรับประทาน )
2.ถ้าของเหลวมี สีฟ้าอ่อน หรือ สีเขียว แสดงว่าอาหาร ไม่มีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์
หมายเหตุ – วิธีทดสอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ใช้งานควรอ่านรายละเอียดคู่มือการใช้ชุดทดสอบ ที่แนบไปพร้อมกับชุดทดสอบอีกครั้ง
** หากสนใจหรือสอบถามราคาสามารถเข้าไปที่ www.worldchemical.co.th หรือสแกน QR Code เพื่อแอดไลน์คุยกับแอดมินของเรา สอบถามราคา หรือคำเเนะนำต่างๆ การใช้งานสารเคมีต่างๆ จำเป็นต้องมีความรู้และความชำนาญ เพราะหากเรานำมาใช้ผิดประเภท อาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ถ้าหากไม่มั่นใจในการเลือกใช้สารเคมีต่างๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทร. 053-204 446-7 / 053-204 465 sales_worldchemical@hotmail.com