อะซิโตน นำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยา, อุตสาหกรรมไฟเบอร์, อุตสาหกรรมสารเคมีชนิดต่างๆ และอุตสาหกรรมช่างต่างๆ
อะซิโตน คืออะไร ?
อะซิโตน หรือ อะซิโทน (Acetone) คือ สารตัวทำละลายอินทรีย์ระเหยง่ายที่ไม่มีกลุ่มฮาโลจีเนตเต็ต ใช้มากในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมสำหรับใช้เป็นตัวทำละลายสารต่างๆ สามารถผลิต และสกัดได้จากธรรมชาติ และการสังเคราะห์ทางเคมีจากปิโตรเลียม ทั้งยังไม่กัดผิวหนัง
อะซิโตนเป็นของเหลวที่ระเหยง่ายไม่มีสีมีจุดหลอมเหลวที่ -95.4 °C และจุดเดือดที่ 56.53 °C มันมี ความหนาแน่นสัมพัทธ์ เท่ากับ 0.819 (ที่ 0 °C) ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก การใช้งานแอซีโทนที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคือใช้ในน้ำยาล้างเล็บ แอซีโทน ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น ๆ
อะซิโตน ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Schardinger จากกระบวนการหมักของแบคทีเรียในสภาวะไม่มีออกซิเจน โดยสามารถผลิตได้จากแบคทีเรียในกลุ่ม Cl. acetobutylicum และ Cl. beijerinckii ซึ่งวิธีนี้มีต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อะซิโตนส่วนมากที่มีใช้ในปัจจุบันจะได้จากกระบวนการสังเคราะห์จากปิโตรเลียม
ประวัติ และการผลิตของอะซิโตน
ในปี ค.ศ. 1905 มีการค้นพบจากกระบวนการหมักของแบคทีเรียในสภาวะไม่มีออกซิเจน (Anaerobic Bacilli) เช่นเดียวกับ
หลุยส์ พัสเตอร์ที่ค้นพบบิวทานอล (ค.ศ. 1861) และคนแรกที่ค้นพบอะซิโตนก็คือ Schardinger
ในปี ค.ศ. 1912-ค.ศ. 1914 เชม วิทแมนน์ (Chaim Weizmann) ได้แยกจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่มีความสามารถผลิตอะซิโตน และบิวทานอลได้ เรียกว่า ไอโซเลต และต่อมาเรียกจุลินทรีย์กลุ่มนี้ว่า Clostridium acetobutylicum โดยในระยะแรกอะซิโตน จะมีความสำคัญมาก
โดยอะซิโตนที่ผลิตได้จะใช้เป็นตัวทำละลายคอร์ไดท์ (Cordite) สำหรับเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตวัตถุระเบิด TNT (Trinitrotoluene)ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาสงครามยุติ ความต้องการลดน้อยลงทำให้โรงงานเหล่านั้นต้องปิดตัวลง แต่ช่วงเดียวกันบิวทานอลกลับมีความต้องมากขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมสีทา
ในปี ค.ศ. 1950 ได้เริ่มมีการผลิตอะซิโตน ด้วยกระบวนการทางเคมี จากสารที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าการผลิตโดยกระบวนการหมัก ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในอเมริกาเริ่มมีการเปิดขึ้นใหม่ จนกระทั่งสิทธิบัตรโรงงานของ
วิทแมนน์ (Weizmann) สิ้นสุดลงจึงเกิดโรงงานเพื่อการผลิตอะซิโตนขึ้นอีกมากมาย ทั้งในญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรีย และอเมริกาใต้ โดยใช้แบคทีเรีย C. acetobutylicum เป็นหลักในการผลิต เช่นเดียวกับการผลิตบิวทานอล
คุณสมบัติเฉพาะ
- ชื่อทางเคมี : 2-Propanone
- ชื่ออื่นๆ : Methyl ketone, Ketone propane, Dimethyl formaldehyde
- สูตร : CH3COCH3
- มวลโมเลกุล : 58.08
- สถานะ : ของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายมินท์
- จุดเดือด : 56.5 องศาเซลเซียส
- จุดหลอมเหลว : -95
- จุดวาบไฟ : -2 องศาเซลเซียส
- ลุกติดไฟได้เอง : 465 องศาเซลเซียส
- ความถ่วงจำเพาะ : 0.79
- ความดันไอ : 400 มิลลิเมตรปรอท (39.5 องศาเซลเซียส)
- ค่าคงที่เฮนรี่ : 3.97 x 10-5 ลบ.ม.-บรรยากาศ (25 องศาเซลเซียส)
- การละลายน้ำ : ละลายน้ำได้ดี
ประโยชน์ของ อะซิโตน
1. ในภาคอุตสาหกรรม
มักใช้เป็นตัวทำละลายในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเคมี ผลิตยา ผลิตสี หมึกพิมพ์ น้ำมันขัดเงา กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น เรซิน Bisphenol A สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกหลายชนิด เช่น โพลีคาร์บอเนต โพลียูรีเทน และเรซิน เป็นต้น
2. ห้องปฏิบัติการ
มักใช้อะซิโตนสำหรับเป็นตัวทำละลายในการเตรียมสารเคมี หรือ ใช้เป็นสารทำละลายสำหรับการสกัดสารอินทรีย์จากพืชหรือสัตว์
3. ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้แก่ ใช้สำหรับการชะล้าง และเป็นสารไล่น้ำ
อันตรายจาก Acetone ที่ควรระวัง
อันตราย Acetone จากภายนอกร่างกาย
หาก Acetone ได้สัมผัสกับดวงตา : ในขณะที่เราใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Acetone เราคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าไม่ควรให้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ สัมผัสดวงตาของเรา แต่ในบางครั้งความประมาทหรือความไม่ระวังอาจทำให้ Acetone สัมผัสดวงตาได้ ซึ่งจะส่งผลให้ดวงตาเกิดการระคายเคืองทันทีและมีความรุนแรงอย่างอาการตาแดงหรืออาการปวดตาอย่างหนัก เพราะฉะนั้นหากเราจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Acetone ก็ควรสวมใส่แว่นตาที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันสารเคมีอย่าง Acetone ได้
หาก Acetone ได้สัมผัสกับผิวหนัง : ความเข้มข้นของ Acetone ในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทย่อมมีความเข้มข้นที่แตกต่างกันออกไป หากผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความเข้มข้นที่เจือจางเมื่อเราไปสัมผัสก็อาจจะไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนังได้ แต่สำหรับบางผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบ Acetone ที่เข้มเข้มเมื่อเราได้สัมผัสผิวหนังอาจจะเกิดอาการผื่นแดงฉับพลันหรือมีอาการแสบร้อน ดังนั้นเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีหรือถ้าเกิดอาการรุนแรงมากกว่าที่กล่าวมาก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที เมื่อรู้เช่นนี้แล้วหากจำเป็นต้องสัมผัสกับ Acetone ก็ควรหาวิธีป้องกันอย่างการสวมใส่ถุงมือและสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดเพื่อป้องกัน Acetone กระเด็นใส่ผิวหนัง
อันตราย Acetone จากภายในร่างกาย
หากกิน Acetone ลงท้อง : แน่นอนว่าไม่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะมีความเข้มข้นของ Acetone มากหรือน้อยเราก็ไม่ควรกลืนกินเข้าไปเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบขึ้นในบริเวณอวัยวะระบบทางเดินอาหาร อาทิเช่น กระเพาะอาหารและลำไส้ จำเป็นต้องล้างท้องหรือขับ Acetone ออกจากร่างกายโดยเร็วที่สุด
เมื่อมีการสูดดมกลิ่น Acetone มากจนเกินไป : หากเราได้รับสาร Acetone จากการสูดดมกลิ่นมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจโดยจะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ, ไอ, แน่นบริเวณหน้าอก หรือคลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าเราได้รับกลิ่น Acetone มากจนเกินไปหรือนานเกินไป ดังนั้นถ้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะไม่ดมกลิ่นของ Acetone เราก็ควรหาวิธีป้องกันอย่างการสวมใส่หน้ากากที่ออกแบบในการป้องกันกลิ่นของสารเคมีโดยเฉพาะหรือทำงานในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
อะซิโตน จัดเป็นสารไวไฟ มีจุดวาบไฟที่น้อยมากที่ -2 องศาเซลเซียส และลุกติดไฟได้เองที่ 465 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงมีโอกาสเกิดการติดไฟ และระเบิดได้ง่ายหากสัมผัสกับความร้อน และเปลวไฟ และเกิดระเบิดได้เองหากส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศอยู่ภายใต้ขีดจำกัดความไวไฟที่ได้รับความร้อนมากเพียงพอ
การเก็บรักษา อะซิโตน
- ควรเก็บในภาชนะที่ปิดบรรจุมิดชิด จัดเก็บในบริเวณที่แห้ง เย็น มีการระบายอากาศที่ดี
- ควรเก็บในภาชนะที่ทำจากกแก้ว หลีกเลี่ยงการเก็บในภาชนะที่ทำด้วยโลหะ ใยสังเคราะห์ และพลาสติก
- ควรเก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน แสงแดด เปลวไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้
- อุณหภูมิสถานที่เก็บไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส
- สถานที่เก็บควรถูกต้องตามกฎหมายที่กรมโรงงานกำหนดในเรื่องการจัดเก็บวัตถุอันตราย มีป้ายเตือนอันตราย ป้ายเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ระยะห่างจากแหล่งความร้อน แหล่งเชื้อเพลิง อาคารสามารถป้องกันประกายไฟ เป็นต้น
สาระน่ารู้เพิ่มเติม
ส่วนประกอบสำคัญหนึ่งในน้ำยาล้างเล็บคือ อะซิโตน หรือเอทิลอะซิเตต จะไม่มีสี ระเหยง่าย เป็นตัวทำละลายอินทรีย์มีความเป็นขั้วสูงและมีพิษต่ำ จึงเหมาะกับการน้ำยาล้างเล็บ ในทางเคมีแล้ว อะซิโตนใช้มากในห้องปฏิบัติการ และด้วยความที่เป็นสารเคมี จึงกำหนดให้อะซิโตนเป็นสารเคมีอันตราย (ชนิดที่ 3) มีคุณสมบัติเป็นของเหลว ไวไฟ ในน้ำยาล้างเล็บมีส่วนประกอบหลักนอกจากอะซิโตนเข้มข้นแล้ว ยังมีน้ำและตัวนี้ทำให้สารอื่นๆ รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้บ่อยในครีม หรือโลชั่น เป็นตัวทำละลายชนิดหนึ่งอีกด้วย นอกจากนี้ ในน้ำยาล้างเล็บยังมีน้ำหอมเพื่อกลิ่นไม่ฉุน และสีอ่อนๆ อีกด้วย แม้ว่าเมื่อเราสัมผัสอะซิโตนแล้วจะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ง่ายๆ และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่ถ้าสัมผัสอะซิโตนเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดการสะสม ส่งผลให้เกิดการอักเสบได้
บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
- ไลน์ไอดี : @worldchemical
- เฟสบุ๊ค : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
- เว็บไซต์ : www.worldchemical.co.th
- โทร : 053-204-446-7
โค้ดลับ! เฉพาะคุณ
- ใส่โค้ด SALEWFC10 รับส่วนลด 10% ช้อปครบ 100.- ขึ้นไป
- ใส่โค้ด SALEWFC15 รับส่วนลด 15% ช้อปครบ 1,000.- ขึ้นไป
- ใส่โค้ด SALEWFC20 รับส่วนลด 20% ช้อปครบ 2,000.- ขึ้นไป
เงื่อนไขโปรโมชั่น
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
- รับส่วนลดเพียงกรอกโค้ดส่วนลดในช่องรหัสส่วนลด เพื่อรับส่วนลดพิเศษ
- โค้ดส่วนลด 1 user สามารถใช้ได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น
- ส่วนลดที่ได้รับจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละรายการ
- โปรโมชั่นนี้ สามารถใช้ได้ที่เว็บไซต์ www.worldchemical.co.th ภายในวันนี้ – 31 ส.ค. 2567 เท่านั้น
- โค้ดส่วนลดสามารถใช้ร่วมกับสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น
- รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย