ประโยชน์ของฟอร์มาลินที่คุณอาจไม่รู้
ฟอร์มาลินสารเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม กับประโยชน์มากมายที่คุณอาจไม่รู้
เชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงรู้จักสารเคมีภัณฑ์ที่มีชื่อว่าฟอร์มาลินกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้รักษาสภาพศพเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย ส่งกลิ่นเหม็น รวมถึงข่าวการตรวจพบสารฟอร์มาลินที่ปนเปื้อนในอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล หรืออาหารสด ซึ่งมีพิษต่อร่างกาย แต่ทราบหรือไม่ว่าหากใช้งานฟอร์มาลินให้ถูกประเภท ก็จะเกิดประโยชน์มากมาย จัดเป็นเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมที่สร้างประโยชน์และนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในทางการแพทย์ รวมถึงในภาคอุตสหกรรมและในภาคการเกษตรอีกด้วย บทความนี้จึงได้รวบรวมประโยชน์ของฟอร์มาลินที่คุณอาจไม่รู้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกัน
ฟอร์มาลินคืออะไร
ฟอร์มาลิน หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารประกอบอินทรีย์ กลุ่มอัลดีไฮด์ มีสูตรเคมี คือ CH2O หรือ HCHO ฟอร์มัลดีไฮด์ที่ความดันปกติจะมีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ติดไฟได้ ก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เมื่อรวมตัวกับอากาศ และออกซิเจนสามารถเกิดการระเบิดได้ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ และคงสภาพ
ในทางการค้านิยมใช้อยู่ในรูปของสารละลายสารฟอร์มาลิน (Formalin) คือสารละลายที่ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ประมาณ 37- 40% ในน้ำและมีการเติมสารละลายเมทานอลประมาณ 10-15 % เพื่อป้องกันการเกิดโพลิเมอร์พาราฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งมีความเป็นพิษสูงกว่า
ประโยชน์ของฟอร์มาลีน
เมื่อฟอร์มาลีนทำปฏิกริยากับสารเคมีต่าง ๆ จะเกิดผลทางเคมี และมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ จึงถูกนำมาใช้งานในหลายภาคส่วน ดังนี้
1. ด้านอุตสาหกรรม
– ใช้ในอุตสาหกรรมผ้า เพื่อทำให้ผ้าไม่ยับ ย่น
– ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยใช้วัสดุที่ทำจากฟอร์มัลดีไฮด์มาทำส่วนประกอบของระบบส่ง กำลัง ระบบไฟฟ้า เสื้อสูบ แผงประตู เพลา และเกือกเบรก
– ใช้ในอุตสากรรมกระดาษ ทำให้กระดาษลื่น และช่วยกันน้ำเพื่อความเหนียวเมื่อเปียก ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ รวมถึงทิชชูเช็ดหน้า กระดาษเช็ดปาก และกระดาษเช็ดมือ
– ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตไม้อัด โดยใช้เป็นกาวถาวรในไม้อัด
– ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตโฟมเพื่อเป็นฉนวนความร้อน
– ใช้ในการผลิต urotropin, แอลกอฮอล์, ยา, สี และวัตถุระเบิด
– ใช้เป็นส่วนผสมโลหะ ป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชัน
– ใช้ในกระบวนการผลิตเรซิน และพลาสติก
– ใช้เป็นสารเร่งการเกาะติดสี เป็นสารช่วยย้อม
– ใช้ในกระบวนการฟอกสี
– ใช้ในกระบวนการผลิตสี และหมึกพิมพ์
– ใช้ผลิตผงสำหรับการใช้ในไหมสังเคราะห์เพื่อช่วยปรับปรุงน้ำหนัก และความแข็งของไหม
– ใช้ในกระบวนการล้างฟิลม์ อัดรูป เพราะฟอร์มาลดีไฮด์ความเข้มข้นต่ำใช้เป็นน้ำยาคงสภาพได้ มีคุณสมบัติช่วยรักษารูปถ่ายให้เก็บไว้ได้นาน
– ใช้ในเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม เพราะมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อ จึงใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาฆ่าเชื้อ สารฆ่าเชื้อ และใช้เป็นยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อโรคเพราะมีคุณสมบัติทำให้โปรตีนแข็งตัว
2. ทางด้านการเกษตร
– ใช้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้ออุปกรณ์ และอาคารโรงเรือน
– ใช้ทำลายเซื้อ ป้องกันเชื้อโรคทั้งในดิน น้ำ พืช และสัตว์
– ใช้ในการเก็บรักษาธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพราะมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา และใช้เพื่อป้องกันแมลงเข้าทำลาย
– ใช้ในอุสาหกรรมปุ๋ย
– ใช้รักษาโรคในสัตว์ที่เกิดจากปรสิตและโปรโตซัว
– ฟอร์มาลดีไฮด์ยังได้อนุมัติให้ใช้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในสหรัฐ คือใช้เป็นยาต้านจุลชีพที่ทำให้อาหารสัตว์เลี้ยงปราศจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่ทำให้อาหารเป็นพิษได้ถึง 21 วัน
3. ทางด้านการแพทย์
– ฟอร์มาลีนมีคุณสมบัติเด่นเรื่องคงสภาพเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จึงใช้ในการฉีดดองศพ ทั้งเพื่อให้ญาตินำไปประกอบศาสนาพิธี รวมทั้งการฉีดดองศพอาจารย์ใหญ่ เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้ศึกษา และใช้ในการเก็บรักษาร่างกายสัตว์ เพื่อประโยนช์ด้านการวิจัยและการศึกษาด้วย
– ใช้ในเวชภัณฑ์ เช่น ยาฆ่าเชื้อโรค และฟอกหนัง เป็นต้น
– ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์
4. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
– ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาดับกลิ่นตัว
– ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางป้องกันเหงื่อออกมาก
– ใช้เป็นส่วนผสมของยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก สบู่ และครีมโกนหนวด สำหรับเป็นสารฆ่าเชื้อ
อย่างไรก็ตาม สารฟอร์มาลินจะมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 กำหนดให้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ผู้ใช้สารนี้กับอาหาร หรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และถ้าตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่าการใช้สารละลายฟอร์มัลดีไฮด์หรือฟอร์มาลินในอาหารไม่เพียงแต่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ยังมีโทษตามกฎหมายด้วย
หากต้องการใช้ในอาหารเพื่อป้องกันการขึ้นรา รักษาสภาพอาหาร รักษาสีให้คงที่ ให้ใช้สารเคมีภัณฑ์ โซเดียมเมต้าไบซัลไฟด์แทน เพราะมีคุณสมบัติช่วยป้องกันเชื้อรา และเป็นสารช่วยปรับความเป็นกรดให้อ่อนลง ช่วยในการฟอกขาว และช่วยคงสภาพของสีธรรมชาติไว้ ยืดอายุของสีให้อยู่ได้นาน ไม่คล้ำ โดยใส่ในปริมาณไม่เกิน 0.02% ของสารละลายหากท่านต้องการฟอร์มาลีน และสารเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมของท่าน World Chemical Group เราเป็นศูนย์รวมเคมีภัณฑ์เชียงราย เคมีภัณฑ์เชียงใหม่ เคมีภัณฑ์ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ เป็นผู้นำด้านการนำเข้าสินค้าเคมีภัณฑ์ ทุกชนิด สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดย่อม อาทิ ฟอร์มาลิน สารส้มผง โซเดียมเมต้าไบซัลไฟต์ ชุดน้ำยาล้างจาน และ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน พร้อมทีมขายที่คอยให้ปรึกษา
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- Line ID : worldchemical
- Facebook : https://www.facebook.com/chemical.chiangmai
- Website : www.worldchemical.co.th
- Tel : 053 204 446-7
- Line ID : @worldchemical