ประวัติความเป็นมาของ ใยแก้ว

ประวัติของการผลิต ใยแก้ว สาวย้อนไปได้ถึงปี ค.ศ. 1893 เมื่อนาย เอ็ดเวร์ด ดรามมอนด์ ได้แสดงใยแก้วที่เขาคิดค้นในงานแสดง World Columbian Exposition ใยแก้วที่นำมาแสดงนั้น มีลักษณะของเส้นใยคล้ายกับเส้นไหม   แต่ก็ไม่ได้มีการคิดค้นต่อยอดหรือนำเส้นใยแก้วที่คิดค้นได้นั้นมาพัฒนาให้ใช้งานได้จริงจัง  จนอีก 45 ปีผ่านไปจึงได้มีการพัฒนาจนถึงขั้นการผลิตใยแก้วในระดับอุตสหกรรมโดยนาย รัสเซล เยมส์ สเลเตอร์ แห่งประเทศอเมริกา   ครั้งนั้นได้ตั้งชื่อให้กับใยแก้วที่ผลิตได้ว่า  Fiberglass ซึ่งก็ได้เรียกกันติดปากจนเป็นชื่อเรียกสามัญทั่วไป

ในช่วงแรกของการพัฒนาใยแก้วยังใช้อยู่เฉพาะในวงการฉนวนกันความร้อนเท่านั้น แต่ต่อมาได้ มีการพัฒนากระบวนการผลิตโดยการดึงเส้นใยให้เป็นเส้นต่อเนื่อง ที่มีความแข็งแรงสูงเพื่อใช้ในการเสริมความแข็งแรงของพลาสติกประเภทเทอร์โมเซ็ท เช่น โพลีเอสเตอร์เรซิ่นชนิดไม่อิ่มตัว  ไวนิลเอสเตอร์เรซิ่น  อีพอกซี่เรซิ่น   และรวมไปถึงเทอร์โมพลาสติก เช่น ไนลอน   โพลีโพรไพลีน  โพลีคาบอร์เนต   ABS PPS และชนิดอื่น ๆ อีกมาก

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาต่อเนื่อง ให้ใช้เสริมความแข็งแรงของปูนซีเมนต์ ยิปซัม และยางมะตอยได้อีกด้วย     ในปัจจุบัน  นอกจากใยแก้วแล้ว  ยังมีใยชนิดอื่นที่ได้มีการค้นคว้าและผลิตออกมาโดยมีข้อดีและข้อด้อยต่างๆ กันไป ชนิดที่สำคัญและจะกล่าวถึงในเชิงเปรียบเทียบต่อไปเช่น  ใยคาร์บอน (กราไฟท์) และใยเคฟลาร์

ใยแก้ว หรือ เส้นใยไฟเบอร์กล๊าส (Fiberglass หรือ Glassfibre)

เป็นตัวเสริมความแข็งแรงให้กับโพลีเอสเตอร์เรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส เช่นเดียวกับเหล็กเส้นเสริมในงานคอนกรีต

เป็นวัสดุซึ่งทำมาจากแก้ว ที่มีเส้นใยเล็กมาก และใช้เสริมแรงโพลีเมอร์ได้หลายชนิด

เป็นวัสดุที่ทำมาจากใย แก้ว ที่มีเส้นใยเล็กมาก  เกิดจากการหลอมละลาย และแข็งตัวของ “ซิลิก้า” ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากแก้วที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง 1000องศา ++ ตั้งแต่ 50-900 นาที

เส้นใย แก้วใช้ในงานเสริมรงโพลิเมอร์ได้หลากหลายชนิด  เราเรียกการเสริมแรงนี้ว่า “เอส อาร์พี FRP” (Fiber-reinforced Plastic )  และ “จี อาร์ พี GRP” (Glass-reinforced Plastic )   หรือ ที่คนไทยคุ้นชินคือคำว่า “งานไฟเบอร์กล๊าส” เมื่อเราใช้ผสานกับเรซิ่น เราเรียกการรวมตัวของวัตถุดิบ2ชนิดนี้ว่า “การคอมโพสิท”

ใย แก้วมีราคาไม่สูงนัก สามารถนำมาใช้ได้กับหลายๆผลิตภัณฑ์

มีรูปร่างต่างกันไปหลายชนิด ตามลักษณะรูปแบบกายภาพ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน คุณสมบัติ และวิธีผลิต

หมายเหตุ. เป็นวัตถุมีพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถูกมือและผิวหนังจะคัน ขณะทำงานควรใช้ผ้าปิดจมูก และใส่เสื้อผ้าปกปิดผิวหนังส่วนต่างๆ  และ/หรือ ทาแป้งที่ผิวหนังป้องกันการคัน ซึ่งเกิดจากเศษทิ่มแทงเข้าในผิวหนังเรา

คุณสมบัติของ ใย แก้ว เส้นใยไฟเบอร์กล๊าส (Fiberglass หรือ Glassfibre)

ไม่ติดไฟและเป็นฉนวนไฟฟ้าชั้นยอด  ทนความร้อนได้ดีมาก คงรูปเดิมได้ดี ไม่มีการยืดหยุ่น ไม่เน่าเปื่อย ไม่ผุกร่อน ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เกิดการแข็งตัวจากอากาศหนาวจัด มีความแข็งแรงกว่าเหล็กในด้านความทนทานต่อแรงดึง ใช้ผสานกับเรซิ่น

ใยแก้วชนิดผืนเส้นสั้น Chopped Strands Mat
เป็นใยแก้วที่นิยมให้กับงานทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็นเบอร์ 300 450 600

 

(ตัวเลขของผืนเบอร์ คือน้ำหนักเป็นกรัมต่อหนึ่งตารางเมตร แปลว่า ใยแก้ว 450 จะบางกว่า600 และ หนากว่า 300)
ใยแก้ว300 นิยมใช้กับชิ้นงานขนาดเล็กต้องการน้ำหนักเบา
ใยแก้ว600ใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ เช่นถังน้ำ หลังคา

 

 

 

 

ทั่วโลกรู้จักในฐานะของวัสดุที่ทนทานต่อแรงดึงสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยอื่น ๆ ทั้งยังมีรูปแบบเส้นใยที่แตกต่างตามลักษณะการผลิตชิ้นงานให้เลือกใช้ดังนี้

วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการขึ้นรูปงานไฟเบอร์กลาส โดยทั่วไปจะแบ่งประเภทดังนี้

A glass [ Alkali ]  ใช้สำหรับงานที่ต้องการทนสารเคมีเป็นด่าง

C glass [ Chemical ]  กันกรดและกัดกร่อน

E glass [ Electrical ]  สำหรับงานที่ต้องการรับแรง และเป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า ทนความด่าง – กรด กัดกร่อน

กระบวนการผลิตเสื่อสับ (ชนิดอิมัลชัน)

การผลิต Chopped Strand Mat หรือ CSM ที่เราเรียกกันนั้นมีความซับซ้อนอยู่ไม่น้อย  แม้จะดูเป็นกระบวนการที่เรียบง่ายแต่การควบคุมคุณภาพให้มีความสม่ำเสมอนั้นทำได้ยากเนื่องจากมีตัวแปรในการผลิตอยู่มากทีเดียว เริ่มต้นจากการนำ cake หลายๆม้วนที่ได้จากขั้นตอนการสาวใยแก้วที่ได้เคยอธิบายไว้แล้ว   นำมาผ่านการอบจนแห้งและ sizing คือน้ำยาที่เคลือบไว้สุกดีแล้วมาเข้าเครื่องตัดโปรย  (chopper) จำนวนของม้วน cake จะมีการกำหนดไว้อย่างแน่นอนล่วงหน้าโดยจำนวนนี้จะสัมพันธ์กับ

1.  ขนาดเส้นของ cake ที่ผลิตออกมา
2.  ความกว้างของ CSM ที่ต้องการผลิต
3.  นน/ตรม ของ CSM
4.  ความเร็วสายพานลำเลียงของสายการผลิต

โดยม้วน cake เหล่านี้จะถูกป้อนเข้า chopper เพื่อตัดแล้วโปรยลงมาให้ตกแบบอิสระ หรืออาจมีลมหมุนและอุปกรณ์อย่างอื่นช่วยให้เส้นใยกระจายตัวดีขึ้นก็ได้ เส้นใยที่ถูกตัดเป็นเส้นสั้นๆมีความยาวประมาณ 6 นิ้วก็จะตกลงสู่สายพานในลักษณะที่ซ้อนทับกันไปมาจนได้ลักษณะของผืน CSM แล้วผืน CSM ที่อยู่บนสายพานลำเลียงจะวิ่งผ่านละอองกาวน้ำหรือกาวผง+ละอองน้ำที่โปรยลงมา (ในวงการเรียกกาวที่ใช้ในส่วนนี้ว่า Binder) ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เส้นใยแก้วเหล่านั้นติดกันอยู่เป็นผืนได้ ก่อนผืน CSM นี้จะถูกรีดด้วยลูกกลิ้งให้เรียบแล้วเข้าสู่เตาอบเพื่ออบให้ Binder แห้งตัว ผืน CSM เมื่อออกมาจากเตาอบจะแห้งและคงตัวดีแล้วจะเคลื่อนตัวต่อไปจนสุดปลายสายพานที่มีแกนกระดาษสำหรับเข้าม้วน  เมื่อได้ขนาดม้วนตามกำหนดก็ตัดแล้วบรรจุกล่องเป็นอันจบสิ้นกระบวนการผลิต CSM

มีข้อควรรู้อย่างหนึ่งว่า Binder ที่ใช้ประสานเส้นใยเหล่านี้ให้เกาะกันเป็นผืน CSM นั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบเป็นของเหลวเรียกว่า Emulsion Binder  และเป็นผงเรียกว่า  Powder Binder

CSM ที่ผลิตโดยใช้ Binder ทั้งสองชนิดนั้นมีคุณสมบัติในการใช้งานไม่ต่างกันมากนัก  แต่มีข้อสังเกตเล็กๆ ว่า  Emulsion Binder จะให้ CSM ที่นุ่มกว่าและไม่ค่อยระคายเคืองผิวหนังเมื่อสัมผัสเนื่องจาก Emulsion Binder ที่เป็นของเหลวจะไปเคลือบใยแก้วทุกๆเส้นอย่างทั่วถึง   ในขณะที่ Powder Binder มักจะไปติดอยู่ตามจุดสัมผัสของใยแก้วต่อใยแก้วเท่านั้น (ตามภาพ)

อย่างไรก็ตาม CSM ที่ใช้ Emulsion Binder ก็มีข้อจำกัดในการใช้งานเมื่อนำไปขึ้นรูปเป็นหลังคาแผ่นใสจะไม่ใสเท่า CSM ทีใช้ Power Binder เพราะ Binder จำนวนมากกว่าที่เคลือบอยู่ทั่วเส้นใยนั่นเอง

ใยแก้ว  เป็นตัวเสริมความแข็งแรงให้กับเรซิ่น

เช่นเดียวกับเหล็กเส้นเสริมในงานคอนกรีต มีรูปร่างต่างกันหลายชนิด เช่นเส้นยาว  เส้นสั้น เป็นผืน แบบถักเป็นผืน จึงควรเลือกใยแก้วให้เหมาะกับคุณสมบัติของชิ้นงานและวิธีการผลิต

ตัวอย่างการนำไฟเบอร์กล๊าส ใย แก้ว ไปใช้งาน ทั้งซ่อมแซม และการขึ้นรูปชิ้นงาน

งานทำแม่พิมพ์เพื่อถอดชิ้นงาน  แม่พิมพ์ที่ได้ จะมีน้ำหนักเบาและแข็งแรง ป้องกันความร้อน หรือ เป็นฉนวนไฟฟ้า

% ใยแก้ว (Fiber glass หรือ Glass fiber)

งานเสริมแรง

อุปกรณ์กีฬา เช่น ก้านไม้กอล์ฟ คันเบ็ดตกปลา รถแข่ง ชุดแต่งมอเตอร์ไซด์ ที่ต้องการความเบาตัดเย็บเสื้อหุ้มวาล์ว ผ้าม่านกันสะเก็ดไฟ ชุดผจญเพลิง

% ใยแก้ว (Fiber glass หรือ Glass fiber)

งานกรองอลูมิเนียมเหลว กรองแก๊สและฝุ่น

% ใยแก้ว (Fiber glass หรือ Glass fiber)

งานก่อสร้าง เช่น เคลือบผิวตรงพื้นที่ต้องปะทะกับความร้อนสูง ผนังเบา และ ฉนวนกันความร้อนภายในอาคาร งานผสานระหว่างจุดเชื่อมต่อกันน้ำรั่วซึม ผสานเรซิ่นหล่อ ไฟเบอร์กล๊าสกับเรซิ่น

 

                                                                                    % ใยแก้ว (Fiber glass หรือ Glass fiber)% ใยแก้ว (Fiber glass หรือ Glass fiber)

บริษัท เวิลด์ เคมีคอล ฟาร์อีสท์ จำกัด (จังหวัดเชียงใหม่)
261/3-6 ถ.มหิดล ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทร. 053-204 446-7 / 053-204 465 sales_worldchemical@hotmail.com