ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% (Hydrogen Peroxide 3%)
เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนสองตัวและเชื่อมกันด้วยพันธะเดี่ยว) รูปแบบที่ง่ายที่สุด มีสภาพเป็นของเหลวใส หนืดกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม ไม่อยู่ตัว มักทำอยู่ในรูปสารละลายในน้ำความเข้มข้น 3-90 % ซึ่งสามารถสลายตัวเป็นออกซิเจนกับน้ำ เมื่อเจือจางจะเป็นสารละลายไม่มีสี เนื่องจาก Hydrogen Peroxide สามารถสลายตัวเป็นน้ำได้เมื่อถูกแสงและความร้อน จึงควรเก็บรักษาสารชนิดนี้ไว้ในภาชนะทึบแสง
คุณสมบัติ Hydrogen Peroxide
โดยปกติHydrogen Peroxide จะสลายตัวไปเองอย่างช้า ๆ ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำและแก๊สออกซิเจน แสงสว่างและความร้อนจะช่วยเร่งให้เกิดการสลายตัวเร็วขึ้น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มีปฏิกิริยาการสลายตัวดังนี้ นอกจากนี้ หากมีส่วนผสมของโลหะ โดยเฉพาะเหล็ก แมงกานีส ทองแดง จะทำให้เกิดการสลายตัวเร็วยิ่งขึ้น
วิธีการเก็บรักษา Hydrogen Peroxide
ให้เก็บไว้ในที่มืด หรือในภาชนะสีน้ำตาลเข้ม ภาชนะทึบแสง และในที่เย็น นอกจากนี้อาจเติมสารบางชนิดลงไปเล็กน้อย เช่น แอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันไม่ให้สลายตัวเร็วเกินไป ยังมีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ ซึ่งภาชนะบรรจุสารอาจระเบิดได้เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิสูง ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย หรืออาจใช้ผงเคมีแห้ง โฟม หรือคาร์บอนไดออกไซด์
การนำไปใช้โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปสารละลายความเข้มข้นตั้งแต่ 3–90%
- มักใช้เป็นสารฟอกสีในอาหาร
- สารทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ
- ใช้ฆ่าเชื้อโรคบนผิวหนัง
- ใช้ล้างภาพสีน้ำมันเก่าๆ ให้สดใสขึ้น
- ทำน้ำยาบ้วนปาก
- Hydrogen Peroxide เข้มข้น 90% สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนจรวด
- ใช้ล้างแผล จะใช้ในฐานะยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ เฉพาะที่เช่น บาดแผลเล็ก ๆ แต่อาจเกิดผลข้างเคียงจากความเป็นพิษ (Cytotoxic) ซึ่งรบกวนการสมานแผล ทำให้แผลแสบ และระคายเคือง ดังนั้นจึงควรใช้สารชนิดนี้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น
- ใช้ฟอกเส้นผม โดยการนำสารชนิดนี้ไปผสมกับสารชนิดอื่น จนให้สารละลายผสมมีฤทธิ์เป็นด่าง แล้วนำมาฟอกผม จะทำให้เส้นผมมีสีอ่อนลง ง่ายต่อการเปลี่ยนสีผม และยังทำให้สีที่ต้องการย้อมติดกับผมได้ และยังมีส่วนผสมอยู่ในน้ำยาโกรกผม ซึ่งในยาย้อมผมไม่ควรมี Hydrogen Peroxide เกิน 6% แต่ที่พบในท้องตลาดมีตั้งแต่ 3–40% ซึ่งหากใช้โดยไม่มีการเจือจางจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ และเส้นผมอาจถูกทำลายได้
- ใช้เป็นสารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม ซึ่งสามารถใช้ได้ดีกับเส้นใยเกือบทุกชนิด พร้อมทั้งเกิดอันตรายต่อเส้นใยน้อยที่สุด ทำให้ Hydrogen Peroxide มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ตัวฟอกขาวสากล” (Universal bleaching agent)
การฟอกขาวด้วย Hydrogen Peroxide ต้องใช้โซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3)ควบคุมการสลายตัว นอกจากใช้ฟอกเส้นใยแล้ว
ยังใช้ฟอกงาช้าง และขนนก และอาจใช้เป็นสารแอนติคลอร์ (antichlor) ซึ่งใช้ทำลายคลอรีนที่ตกค้างบนเส้นใยหลังผ่านการใช้คลอรีนฟอกขาว - Hydrogen Peroxide มีสูตรโมเลกุลคือ H2O2 เป็นสารฆ่าเชื้อ (sanitizer) ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (bacteria) โดยไปทำให้เกิดปฏิกิริยาperoxidation ของลิพิดที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชั้นเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย ส่งผลทำให้ความสามารถในการซึมผ่านเข้าและออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ของสารต่างๆ เสียไปมีผลกับแบคทีเรียแกรมลบ มากกว่าแบคทีเรียแกรมบวก และยังมีผลกับเชื้อรา (mold) ได้ โดยจะทำให้เกิด oxidizing effect ภายในเซลล์และจะไปทำลายโครงสร้างโมเลกุลของโปรตีนภายในเซลล์ แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria) สามารถสร้าง Hydrogen Peroxide ในสภาวะที่มีออกซิเจนและสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ชนิดอื่นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ของแล็กทิกแอสิดแบคทีเรียมีดังนี้ pyruvate + O2 + PO43- pyruvate oxidase acetyl phosphate + CO2 + H2O2
- การใช้ Hydrogen Peroxide ในอุตสาหกรรมอาหาร
- ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เป็นสารฆ่าเชื้อ (sanitizer) นิยมใช้เพื่อการฆ่าเชื้อ เครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหาร และบรรจุภัณฑ์อาหาร (packaging)
- นิยมใช้เพื่อการฆ่าเชื้อบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยเฉพาะระบบ aseptic packaging ความเข้มข้นที่ใช้ ร้อยละ30-35 บรรจุภัณฑ์ อาจจะถูกจุ่มลงในอ่างสารละลายหรือถูกพ่นละอองฝอยของ Hydrogen Peroxide จากนั้นจะถูกเป่าด้วยลมร้อนอุณหภูมิ 60-125องศาเซลเซียส เพื่อระเหยHydrogen Peroxide ส่วนเกินออกไป
- สารฟอกสีในอาหาร (bleaching agent)